รากฟันเทียม และกรณีปลูกกระดูก ยกไซนัส

รากฟันเทียม

รากฟันเทียม คือ การใส่ฟันทดแทนตำแหน่งที่สูญเสียไปโดยการฝังโลหะไทเทเนียมลงในกระดูกขากรรไกรเพื่อใช้แทนรากฟัน แล้วทำฟันครอบบนรากฟันเทียมนั้นอีกทีหนึ่ง การใช้งานก็จะสะดวกสบาย สวยงาม และใช้ได้ดีเช่นเดียวกับฟันธรรมชาติ

ข้อดีของรากฟันเทียม

  • ไม่ต้องกรอฟันธรรมชาติที่ใช้เป็นหลักยึดเหมือนการทำสะพานฟัน
  • แข็งแรง สวยงาม และใช้งานได้สะดวกเหมือนฟันธรรมชาติ
  • ทำความสะอาดเช่นเดียวกับฟันธรรมชาติ
  • ใช้งานได้นานปี

ข้อเสียของรากฟันเทียม

  • มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
  • ขั้นตอนในการทำ หลายขั้นตอน
  • บางกรณีต้องผ่าตัดปลูกกระดูก (bone graft) และยกผนังไซนัสในขากรรไกรบน (sinus lift surgery)
  • ต้องเลือกทำในกรณีที่คนไข้มีเงื่อนไขเหมาะสมเป็นรายๆไป ไม่สามารถทำได้ทุกกรณี

 

ขั้นตอนการฝังรากฟันเทียม

ปรึกษา

ทันตแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจในช่องปาก ร่วมกับการ x-ray ดูลักษณะของกระดูกขากรรไกรและพิมพ์ฟัน เพื่อวางแผนการรักษา

ปลูกกระดูก

ในกรณีของคนไข้ที่สูญเสียฟันไปเป็นเวลานาน ฐานกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งนั้นๆมักจะละลายตัว ยุบฝ่อลง บางกรณีทำให้ความหนาของกระดูกในตำแหน่งนั้นไม่เพียงพอสำหรับการฝังรากฟันเทียมให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อให้ได้รับผลการรักษาที่ดี ทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดเสริมหรือปลูกกระดูกในตำแหน่งนั้น (bone graft) ทั้งนี้ การฝังรากฟันเทียมในขากรรไกรบน บางกรณี ต้องผ่าตัดเพื่อยกผนังไซนัสขึ้น (sinus lift surgery) ก่อนทำการเสริมกระดูก

ขั้นตอน

การฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดเหงือก เพื่อฝังรากฟันเทียมลงบนกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งที่เหมาะสม และเย็บปิดแผล การสมานตัวของกระดูกกับรากฟันเทียมจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ระหว่างนี้ถ้าเป็นฟันหน้า ทันตแพทย์จะทำฟันปลอมแบบชั่วคราวให้ก่อน

implant abutment

เมื่อรากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรแล้ว ทันตแพทย์จะทำการใส่เดือยรองรับครอบฟัน (abutments) เข้ากับรากฟันเทียม

รากฟันเทียมและครอบฟัน

ทำฟันครอบแบบถาวรบนรากฟันเทียม เพื่อใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป

รวมครอบฟัน

รากฟันเทียมอยู่ได้กี่ปี

ในกรณีที่ดูแลรักษาอนามัยช่องปากและมาติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ รากฟันเทียมสามารถคงอยู่ในช่องปากได้ประมาณ 10-20 ปี หรือนานกว่านั้น

 

ผู้ที่ไม่เหมาะเข้ารับการรักษา

  • เด็กและวัยรุ่นตอนต้น ที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรอยู่
  • ผู้ที่มีลักษณะการสบฟันที่ไม่เหมาะสมกับการฝังรากฟันเทียม
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ที่มีปัญหาโรคเลือด ที่ไม่เหมาะจะทำการผ่าตัดในช่องปาก
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับภูมิต้านทาน หรือมีปัญหาติดเชื้อได้ง่าย
  • ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช
  • ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันรุนแรง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดควบคุมน้ำตาลไม่ได้อาจต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปากได้ง่ายกว่าปกติ

 

การผ่าตัดยกเยื่อบุผนังไซนัสและปลูกกระดูก (sinus lift surgery)

ขากรรไกรบนปกติภาพที่ 1. ฐานกระดูกขากรรไกรบนก่อนการสูญเสียฟัน

กระดูกขากรรไกรบนละลายตัวภาพที่ 2. ฐานกระดูกขากรรไกรบนละลายตัวและผนังไซนัสย้อยต่ำลง หลังการสูญเสียฟันไปเป็นเวลานาน

sinus lift ยกผนังไซนัสภาพที่ 3. การผ่าตัดยกผนังไซนัส (sinus lift)

ปลูกกระดูกฟันภาพที่ 4. การเสริมกระดูก ในกรณีที่เหมาะสมทันตแพทย์จะฝังรากฟันเทียมและเสริมกระดูกในครั้งเดียวกัน

ผังรากฟันเทียมภาพที่ 5. ฝังรากฟันเทียมในตำแหน่งที่เหมาะสม

ทำครอบฟันภาพที่ 6. ทำฟันครอบแบบถาวรบนรากฟันเทียม

บทความที่เกี่ยวข้อง

slogan_sktdental