เฝือกสบฟัน | แบบแข็ง แบบอ่อน ต่างกันอย่างไร?

เฝือกสบฟัน (Occlussal Splint) คือ อุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ใส่ครอบบนขากรรไกร เพื่อช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บของข้อต่อขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อบดเคี้ยว รวมถึงสามารถช่วยป้องกันอันตรายต่อตัวฟันในสถานการณ์ต่างๆ

 

เฝือกสบฟัน

 

 

เฝือกสบฟัน ราคา

เฝือกสบฟันแบบนิ่มโดยทั่วไปมักมีราคาค่าใช้จ่ายถูกกว่าเฝือกสบฟันแบบแข็งอยู่บ้าง เนื่องจากในการทำเฝือกสบฟันแบบแข็ง ทันตแพทย์จะต้องปรับแต่งระดับการสบฟันให้อยู่ในจุดที่สมดุลเท่าที่จะเป็นไปได้ในแต่ละกรณี

เฝือกสบฟันแบบนิ่ม ราคา 4,000-5,000 บาท

เฝือกสบฟันแบบแข็ง ราคา 4,000-5,000 บาท

 

วัตถุประสงค์ในการใช้เฝือกสบฟัน

แก้ปัญหาของข้อต่อขากรรไกร

เฝือกสบฟันใช้ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว การบาดเจ็บของข้อต่อขากรรไกร ช่วยแก้ปัญหาขากรรไกรติดขัดขณะอ้าปาก/หุบปาก และภาวะข้อต่อขากรรไกรเสื่อม

กรณีคนไข้มีอาการรุนแรงเฉียบพลัน ทันตแพทย์จะทำ เฝือกสบฟันแบบนิ่ม ให้ใส่ก่อนเพื่อบรรเทาอาการ เพราะสามารถทำได้เร็วกว่าแบบแข็ง และจะแนะนำให้คนไข้ทำเฝือกสบฟันแบบแข็งใช้ในระยะยาว

เฝือกสบฟันแบบแข็ง ทันตแพทย์สามารถกรอแต่งเพื่อช่วยกระจายแรงสบฟันให้เหมาะสม ช่วยพยุงข้อต่อขากรรไกรได้ดี และมีความเสถียรกว่า นอกจากนี้การใส่เฝือกสบฟันแบบอ่อน อาจกระตุ้นให้เกิดการนอนกัดฟันขณะหลับได้

 

ป้องกันฟันสึก

ในผู้ที่มีปัญหาการนอนกัดฟันเป็นประจำ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่เฝือกสบฟัน โดยเฝือกสบฟันนี้ไม่ได้ช่วยให้หายจากการนอนกัดฟัน แต่ช่วยป้องกันไม่ให้การนอนกัดฟันนั้นทำให้ฟันสึก เพราะวัสดุที่ใช้ทำเฝือกสบฟันเป็นพลาสติกชนิดที่มีความแข็งน้อยกว่าผิวเคลือบฟัน

เฝือกสบฟันที่เหมาะสมในกรณีนี้ควรเป็นแบบแข็ง เพราะจะมีจุดสบกับฟันด้านตรงข้ามได้สม่ำเสมอทั้งปาก ทำให้มีความเสถียร และช่วยประคับประคองข้อต่อขากรรไกรไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการบดเคี้ยวฟันขณะนอนหลับ ซึ่งมักจะมีแรงมากกว่าการบดเคี้ยวอาหารปกติ

 

ป้องกันอันตรายต่อฟันขณะเล่นกีฬา

Mouth guard : ใส่ครอบฟันบน/ล่าง เพื่อป้องกันการสัมผัสกับคลอรีนขณะว่ายน้ำในสระว่ายน้ำเป็นเวลานานๆ

Sport guard : ใช้ใส่เวลาเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทกรุนแรงต่างๆ เช่น ชกมวย รักบี้ เป็นต้น

เฝือกสบฟันที่ใช้ในการเล่นกีฬา จะใช้วัสดุชนิดนิ่มและมีความหนาพอสมควร เพื่อให้มีความยืดหยุ่น ปกป้องฟันและเนื้อเยื่อในช่องปากได้ดี เฝือกสบฟันลักษณะนี้ใช้ชั่วคราวเฉพาะขณะเล่นกีฬาเท่านั้น

 

เฝือกสบฟัน เบิกประกันสังคมได้ไหม

การทำเฝือกสบฟันไม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกประกันสังคมเช่นเดียวกับการ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน หรือทำฟันปลอมได้

 

นอนกัดฟัน อาการ สาเหตุ และวิธีแก้ปัญหา

นอนกัดฟัน คือ อาการกัดเน้นฟัน/เคี้ยวฟัน โดยไม่รู้ตัวในขณะที่นอนหลับอยู่ โดยมักจะเกิดขึ้นไม่กี่วินาทีแล้วจะกลับสู่สภาพปกติ เป็นอาการที่พบได้บ่อยซึ่งถ้าไม่เกิดขึ้นมากไป ก็จะไม่เกิดความผิดปกติที่ต้องการรักษา แต่หากอาการนอนกัดฟันเป็นมาก จะทำให้ฟันสึก รวมถึงปัญหาของข้อต่อขากรรไกรเกิดขึ้นได้

เนื่องจากปัจจุบันจึงยังไม่มีวิธีแก้ไขการนอนกัดฟันให้หายขาด จึงใช้วิธีการบรรเทาหรือป้องกันปัญหา ไม่ให้การนอนกัดฟันนั้น ส่งผลเสียต่อตัวฟันรวมถึงระบบกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกร ซึ่งการป้องกันวิธีที่ได้ผลดี คือ ทำเฝือกสบฟันแบบแข็ง

 

ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการนอนกัดฟัน

  • ฟันสึก : ในบางรายอาจจะมีการสึกไม่มาก แต่บางรายก็อาจจะสึกมาก  จนเคลือบฟันหายไปหมด ในบางรายที่มีฟันสึกถึงเนื้อฟัน อาจจะมีการเสียวฟัน หรือถ้าฟันสึกจนฟันเตี้ยลงไปมาก ก็จะเกิดเป็นช่องว่างช่องห่างระหว่างซี่ฟัน ทำให้เศษอาหารลงไปติดได้
  • ฟันร้าว : ในบางกรณีถ้านอนกัดฟันแรงมาก อาจจะทำให้ตัวฟันรับแรงไม่ไหวจนเกิดรอยร้าว จนนำไปสู่การอักเสบติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน เป็นหนองที่ปลายรากฟัน และต้องรักษารากฟัน
  • ปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว หรือปวดข้อต่อขากรรไกร : การนอนกัดฟัน อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบดเคี้ยว หรือปัญหาของข้อต่อขากรรไกรได้

โดยผู้ที่มีการนอนกัดฟันบ่อยๆ ถึงแม้จะยังไม่มีอาการปวดข้อต่อขากรรไกรหรือเสียวฟัน ก็ควรที่จะใส่เฝือกสบฟันเพื่อป้องกันฟันสึก หรือป้องกันปัญหาอื่นๆที่อาจจะเกิดตามมาได้

เนื่องจากข้อเสียของการนอนกัดฟัน โดยเฉพาะปัญหาฟันสึกจะยังไม่เห็นผลชัดเจนแต่จะสะสมไปเรื่อยๆ การป้องกันจึงได้ผลดีและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการแก้ไขปัญหาในภายหลังเสมอ

 

สาเหตุของการนอนกัดฟัน ส่วนใหญ่พบว่ามักเกี่ยวเนื่องกับ

  • สภาพจิตใจ : ในบางคนความเครียดสามารถส่งผลไปแสดงออกต่อการทำงานของร่างกาย เช่น การนอนกัดฟัน เครียดลงกระเพาะก็เกิดปวดท้อง บางคนเครียดแล้วความดันขึ้น เป็นต้น
  • การสบฟันผิดปกติ : คือมีจุดสะดุดในขณะสบฟัน ทำให้ขากรรไกรเยื้องหลบจุดสะดุด และเกิดการเคี้ยวฟันในขณะหลับเพื่อกำจัดจุดสบฟันที่สะดุด
  • การรับประทานยาที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง
  • การนอนหลับไม่สนิท การนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ เหล่านี้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการนอนกัดฟันได้
  • ความผิดปกติบางอย่างของการทำงานของร่างกายเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

slogan_sktdental